ประเภทของขนม

  ขนมไทย
           (ประเภทไข่)
                  
                    ขนมไทยประเภทไข่ เราเรียกว่า ขนมไทยแปลงเพราะมีส่วนผสมของไข่ด้วย เช่น ฝอยทอง ทองหยิบ ทองหยอด ส่วนขนมไทยแท้ ไม่มีส่วนผสมของ ไข่ เช่น ขนมถ้วย ขนมเปียกปูน และลอดช่อง เดิม ขนมไทยเรามีส่วนผสม ของแป้ง น้ำตาล กะทิ เป็นส่วนใหญ่ ต่อมามีผู้นำไข่มาใช้เป็นส่วนผสมในการทำขนมไทยเพิ่มขึ้น จึงทำให้มีขนมไทยชนิดต่างๆ เพิ่มขึ้น ทั้งยังได้ ประดิษฐ์คิดค้นจากฝีมือของ ท้าวทองกีบม้า ภริยา เจ้าพระยาวิไชเยนทร์ ( คอนสแตนตินฟอนคอน ) ข้าราชการผู้ใหญ่เชื้อสายกรีก ในสมัยแผ่นดิน สมเด็จพระนารายมหาราช แห่งกรุงศรีอยุธยา ขนมที่คุณท้าวคิดค้นและดัดแปลงมักมีคำนำหน้าว่า ทอง จนเป็นที่นิยมมาจนถึงปัจจุบันนี้ ได้แก่ ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ทองพลุ ทองเอก ฯลฯ ซึ่งเดิมขนมเหล่านี้มักเรียกว่า ขนมชาววังเพราะมีการทำเฉพาะในวัง ปัจจุบันมีการทำกันแพร่หลายและนิยมกันทั่วไป ทั้งยังมีวิธีการทำการจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ที่หาง่าย ควรแก่การนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับการนำมาใช้ในท้องถิ่น


ขนมทองหยอด


ขนมฝอยทอง



ขนมทองหยิบ


ขนมไทย
                  (ประเภทนึ่ง)


            การนึ่ง คือ การให้ความร้อนขึ้นกับอาหารที่ต้องการทำให้สุกโดยการใช้ภาชนะ 2 ชั้น ชั้นล่างสำหรับใส่น้ำต้มให้เดือด ชั้นบนมีช่องหรือตะแกรงสำหรับวางอาหารหรือมีภาชนะที่มีแผ่นตะแกรงเพื่อวางอาหารเหนือน้ำและไอน้ำเดือดจากด้านล่างสามารถลอยตัวขึ้นเบื้องบนผ่านตะแกรงทำให้อาหารสุกได้ เช่น การนึ่งขนมปุยฝ้าย ขนมชั้น เป็นต้น



ขนมปุยฝ้าย

ขนมชั้้้น

ขนมสังขยา

ขนมไทย
                       (ประเภทกวน)

       กวน (stir) หมายถึง การนำอาหาร อย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งโดยมากเป็น ของเหลวผสม ให้รวมเข้าเป็นเนื้อ เดียวกันจนข้นและเหนียว โดยใช้ เครื่องมือชนิดใดชนิดหนึ่งคน อาหาร ไปจนทั่วด้วยความแรง และ เร็ว ไปในทิศทางเดียวกัน จนอาหาร นั้นเหนียวเป็นเนื้อเดียวกัน







ขนมเผือกกวน
กาละแมกวน
ขนมสำปันนี



ขนมไทย
               (ประเภทต้ม)




             การทำอาหารให้สุกโดยวิธีการต้ม จะใช้น้ำหรือของเหลวปริมาณมาก เป็นตัวกลางนำความร้อนโดย ใส่อาหารที่จะทำให้สุกลงใน ของเหลวนั้นได้แก่ น้ำกะทิ นม เป็นต้น หลักสำคัญของการต้มคือ เมื่อทำให้ของเหลวเดือดแล้ว ลดความร้อนลงเพื่อให้เดือดเบา ๆ อาหารที่ต้มอาจใส่ลงไปขณะที่น้ำเย็น หรือต้มให้น้ำเดือดก่อน แล้วใส่อาหารลงไปแล้วต้มให้ เดือดต่อ แล้วจึงลดไฟลงให้เดือดเบาๆ เช่น การทำบัวลอย ขนมต้มแดงขนมต้มขาว วุ้นกะทิ เป็นต้น

ขนมบัวลอยไข่หวาน



ขนมต้มแดง


วุ้นกะทิ


ขนมไทย
                (ประเภทเชื่อม)



             การเชื่อมส่วนใหญ่จะทำกับผลไม้ โดยการนำผลไม้ต้มในน้ำเชื่อม จนกระทั่งผลไม้มีลักษณะนุ่มและ
ขึ้นเงา โดยระหว่างเชื่อมช่วงแรก น้ำเชื่อมจะใสแล้วจึงต้มต่อไปจน น้ำเชื่อมข้นแต่ต้องไม่เชื่อมให้
น้ำเชื่อมข้นเกินไปจะมีผลทำให้ น้ำในเซลผลไม้ไหลออกมาโดย ขบวนการออสโมซิทำให้ผลไม้เหี่ยวลงและแข็งแต่ถ้าเป็นผล ไม้ชนิดเนื้อแข็งแน่นและบางชนิดมียางในการเชื่อมจะต้องมี เทคนิคช่วยเสริมคือต้มในน้ำก่อน หรือแช่ในน้ำปูนใสก่อนต้มและเชื่อม




ลูกสาแกเชื่อม

กล้วยบวชชี


ฟักทองเชื่อม







            

                                                                                                                                       ขอบคุณค่ะ


























ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น